เมนู

นิคคหะที่ 4


[12] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น
ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย
สัจฉิกัตถปมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเป็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.
นิคคหะที่ 4 จบ

อรรถกถานิคคหะที่ 4


นัยที่ 2 คำว่า ในกาลทั้งปวง เป็นคำซักถามของสกวาที
หมายถึงกาลคือชาติที่มีมาก่อนและมีในภายหลัง และกาลที่พระพุทธเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่และปรินิพพานแล้ว. การปฏิเสธเป็นของปรวาที
เพราะเห็นข้อบกพร่องแห่งคำว่า เป็นกษัตริย์ก็คนนั้นแหละ เป็น
พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ
เป็นต้น และเห็นโทษคือความพลั้งพลาด
เพราะไม่มีอะไรแปลกกันของกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือ
ปรินิพพานแล้ว. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนัยแรก
นั่นเทียว.
อรรถกถานิคคหะที่ 4 จบ